แนวทางปฏิบัติซีเอสอาร์

องค์กรร่วมรับผิดชอบต่อสังคม (ซีเอสอาร์ของกลุ่มบริษัทโทเรในประเทศไทย)

TORAY logo

กลุ่มบริษัทโทเรในประเทศไทยมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียโดยรอบ ด้วยการบริหารจัดการเพื่อสร้างสมดุลของ 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับองค์กรและสังคม) 2) ปัจจัยด้านสังคม (ดำรงไว้ซึ่งความเข้าใจและส่งเสริมวัฒนธรรมในท้องถิ่นรอบองค์กร) และ 3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการป้องกันสิ่งแวดล้อมและร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก) เพื่อบรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว กลุ่มบริษัทโทเรในประเทศไทยจึงได้ประกาศนโยบาย ‘แนวทางปฏิบัติซีเอสอาร์’ ให้เป็นแนวทางกับพนักงานทั้งองค์กรร่วมปฏิบัติ และสร้างซีเอสอาร์ให้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ด้วยมีเป้าหมายที่จะสร้างมูลค่าองค์กรไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าองค์กร เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมสู่การพัฒนาเติบโตอย่างยั่งยืน

  1. กำกับดูแลกิจการ และบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส
    เราจะดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ เพื่อสร้างสรรค์สนับสนุนสังคม สร้างความแข็งแกร่งให้กับ ปรัชญาองค์กร พันธกิจองค์กร และแนวทางการปฏิบัติองค์กร กำกับดูแลและบริหารจัดการองค์กรด้วยความโปร่งใส รักษาความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจต่อองค์กรเป็นสำคัญ

  2. ส่งเสริมจริยธรรมองค์กร และการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ
    เราจะดำเนินธุรกิจด้วยสำนึกรับผิดชอบ ภายใต้กรอบของความมีจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับ มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ยึดหลักความเป็นธรรม

  3. ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย การป้องกันอุบัติภัย และการรักษาสิ่งแวดล้อม
    ความปลอดภัยในการทำงาน การป้องกันอุบัติภัย และสุขอนามัยของทั้งพนักงานและสถานที่ทำงาน เป็นภาระกิจการบริหารสำคัญลำดับแรก ร่วมปกป้องสิ่งแวดล้อมจากธุรกิจของเรา ตั้งแต่วัตถุดิบ การผลิต การกำจัดของเสีย และส่งเสริมกิจกรรมการรีไซเคิล ด้วยการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก

  4. รักษาคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
    เราจะนำเสนอสินค้าและบริการที่สูงด้วยคุณค่า สร้างความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของทุกผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของวัตถุดิบ เคมีภัณฑ์ ขบวนการผลิต การรับประกันคุณภาพ และการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม

  5. สร้างระบบการบริหารและจัดการความเสี่ยง
    เราจะคาดการณ์-ค้นหา ประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหา ลดปัจจัยความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจ พัฒนาระบบและวิธีการที่จะช่วยตอบสนองอย่างรวดเร็ว และการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วน รวมถึงการป้องกันแก้ไขต่อสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลพร้อมกับระบบการแจ้งข่าวสารให้กับพนักงานได้รับทราบทั่วกัน

  6. การสื่อสารสร้างความเข้าใจอันดี
    ส่งเสริมการสื่อสาร พูดคุย อธิบายความ ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องครบถ้วน ทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์อันดี เชื่อมโยงเครือข่ายประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง สร้างความเชื่อถือได้และการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งหมายถึง องค์กรของรัฐ ลูกค้า ผู้บริโภค ผู้ลงทุน สังคม ชุมชนรอบโรงงาน พนักงาน และสหภาพแรงงาน เพื่อให้การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างราบรื่นและเหมาะสม

  7. ร่วมแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นด้านสังคม ผ่านการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ
    จัดหาวิธีการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และร่วมแก้ไขปัญหาสังคม โดยการปรับปรุงคุณภาพการดูแลรักษาพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น แบ่งเบาภาระให้กับบุคลากรด้านการแพทย์ เพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพและการมีชีวิตที่ยืนยาว

  8. ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาบุคลากร
    ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่พนักงาน เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเอง และแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ให้ความก้าวหน้าตามความสามารถ และความมั่นคงในการทำงาน สำหรับกฎระเบียบต่างๆ มีเพื่อสร้างความสงบสุขและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพศ เชื้อชาติ การนับถือศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติของท้องถิ่น

  9. สนับสนุนการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดห่วงโซ่การดำเนินธุรกิจ
    ส่งเสริมกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดทั้งห่วงโซ่การดำเนินธุรกิจ โดยประสานความร่วมมือกับกลุ่มซัพพลายเออร์ ผู้ขาย ลูกค้า และบริษัทจัดจำหน่าย

  10. การทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อสังคม
    เราจะร่วมให้การสนับสนุนในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่นและส่วนรวม ส่งเสริมด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม สวัสดิการสังคม กีฬา ตามโอกาสและความเหมาะสม ในฐานะองค์กรสมาชิกของสังคมที่ดี